วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

ปากไก่และใบเรือ

ปากไก่และใบเรือ
                         จากการที่ได้อ่านหนังสือเรื่องปากไก่และใบเรือสามารถสรุปออกมาได้ดังนี้ อาจกล่าวได้ว่าวรรณกรรมไทยนั้นจะควบคู่ไปกับการศึกษาประวัติศาสตร์ วรรณกรรมที่ถ่ายทอดออกมานั้นสามารถสะท้อนประวัติศาสตร์ได้เป็นอย่างดีในอยุธยานั้น วรรณกรรมของไทยนั้นก็ได้รับเอาอิทธิพลจากวัฒนธรรมของชาวต่างชาติมาก็ไม่น้อยส่วนมากพวกชนชั้นปกครองจะใกล้ชิดกับวัฒนธรรมของต่างชาติมากกว่าชาวบ้านอยู่แล้ว ทำให้วัฒนธรรมของเหล่าชนชั้นสูงกับประชาชนต่างกันไม่มีความสัมพันธ์กันเลยต่างกันมาก พวกมูลนายเป็นพวกที่มีการศึกษา งานที่ออกมาจึงดูมีการศึกษาเป็นประเภทลายลักษณ์อักษรแน่นอน จะเป็นภาษาบาลีและเขมร ส่วนวัฒนธรรมของพวกไพร่ที่ไม่มีความรู้หรือการศึกษา ก็จะมีในลักษณะตำนาน นิยาย ซึ่งจำต่อๆกันมาไม่ได้มีบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร หรือเทียบง่ายๆก็คืองานของพวกชนชั้นมูลนายจะถูกถ่ายทอดออกมาเป็นพระราชพงศาวดาร ส่วนชนชั้นไพร่ก็จะอยู่ในรูปแบบตำนานนิยาย ซึ่งแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงในพระราชพงศาวดารก็จะกล่าวเพียงแค่พระราชกรณียกิจของกษัตริย์ ไม่มีเรื่องราวของประชาชนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเลยจะเห็นว่ามีความแตกต่างกันกับชาวบ้านมาก จึงทำให้เห็นภาพสะท้อนในสังคมได้ค่อนข้างที่จะแคบเพราะงานของพวกชนชั้นมูลนายก็แน่นนอนอยู่แล้วที่จะแต่งตามมุมมองของชนชั้นมูลนาย ส่วนวรรณกรรมของเหล่าประชาชนที่เล่าต่อๆกันมาโดยที่ไม่ได้มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร จึงทำให้ถูกลืมไปได้ง่ายถึงแม้ว่ามีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรก็มีจำนวนน้อยมากๆ จึงทำให้ไม่สามารถนำมาประกอบหรือทำให้ทราบถึงภาพสะท้อนสังคมได้กว้างมากเท่าที่ควร  และนอกจากนี้วัฒนธรรมของชนชั้นมูลนายกับวัฒนธรรมของประชาชนอยู่ห่างไกลกันมาก แต่ก็อยู่ในสังคมเดียวกันได้ ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ชนชั้นทั้งสองจะรับเอาวัฒนธรรมของกันและกันไปใช้ไปดัดแปลงใช้กับวัฒนธรรมของตนบ้าง  
                      พอมาถึงในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ก็มีความเปลี่ยนแปลงด้าน
วรรณกรรมมากขึ้นคือเริ่มมีการนำเอาวรรณกรรมของประชาชนไปใช้ในวรรณกรรมของชนชั้นสูงมาก
ขึ้น  จะเห็นได้ว่าคนทั้งสองชนชั้นนี้เริ่มมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันมากขึ้น และพิธีกรรมที่จุกจิกที่มีมาตั้งแต่ครั้งอยุธยาก็ค่อยๆเสื่อมลง และเข้ามาแทรกในงานวรรณกรรมน้อยลง เริ่มที่จะมีการหันไปทางบันเทิงและมีความผ่อนคลายลงมากจึงทำให้วรรณกรรมของประชาชนแทรกเข้าไปได้ง่ายเพราะวรรณกรรมของประชาชนก็แน่นความ
บันเทิงอยู่แล้ว  ประเพณีหรือจารีตต่างๆของประชาชนก็ยังถูกนำไปใช้ในวรรณกรรมในราชสำนักอีก
ด้วย เช่นการเปรียบเทียบ, ความเปรียบเทียบ หรือการกล่าวถึงพฤติกรรมทางเพศซึ่งในสมัยอยุธยาไม่ได้
มีการกล่าวถึงไว้เลย แต่ในช่วงรัตนโกสินทร์กลับมีเพราะรับเอาวัฒนธรรมของประชาชนไปใช้อยู่
                     และการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของวรรณกรรมในช่วงรัตนโกสินทร์ยังเปลี่ยนแปลงไปถึงการเขียนวรรณกรรมเพื่อการอ่านมากขึ้นซึ่งในสมัยอยุธยาจะสร้างงานวรรณกรรมขึ้นเพื่อสนองตอบกับงานพิธีกรรมมากกว่างานอ่าน ซึ่งเข้าใจยากคนส่วนใหญ่อ่านไม่ค่อยเข้าใจด้วยชื่อคือเป็นวรรณกรรมชั้นสูง ส่วนวรรณกรรมเพื่อการอ่านก็เริ่มมีมาในสมัยของพระนารายณ์ลงมา  แต่ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์มีการสร้างวรรณกรรมที่เหมาะกับการอ่านมากขึ้น ซึ่งจะมีความบันเทิงมากขึ้นเนื่องจากได้รับเอาวรรณกรรมของประชาชนไปใช้บางซึ่งวรรณกรรมของประชาชนนั้นก็มีความบันเทิงอยู่แล้ว ซึ่งจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับทางด้านพิธีกรรมหรือการสั่งสอนอยู่เลย แต่อย่างไรก็ตามชนชั้นสูงกับชนชั้นไพร่ก็ยังเป็นคนที่อยู่คนละระดับหรือคนละชนชั้นอยู่ดี วัฒนธรรมหรือวรรณกรรมก็ยอมมีความแตกต่างกันมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับการที่ว่าคนในแต่ละชนชั้นยอมรับวัฒนธรรมในแต่ละชนชั้นได้มากน้อยแค่ไหนสุดท้ายเราก็แบ่งแยกชนชั้นกันอย่างเห็นได้ชัดอยู่ดี

บรรณานุกรม
นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์.  ปากไก่และใบเรือ.  กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2527

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น