วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

การเมืองไทยสมัยพระนารายณ์

การเมืองไทยสมัยพระนารายณ์
              จากการที่ได้อ่านหนังสือเรื่องการเมืองไทยสมัยพระนารายณ์สามารถสรุปได้ดังนี้    การเมืองไทยในสมัยอยุธยานั้นมีความวุ่นวายอย่างมาก และเป็นที่สังเกตได้ว่าในสมัยของอยุธยา กษัตริย์ที่ขึ้นมาปกครองก็มิได้มีการขึ้นมาอย่างถูกต้องตามราชประเพณีหรือบางคนที่ขึ้นมาก็ไม่ได้มาจากเชื้อพระวงศ์แต่เป็นขุนนางที่มีอำนาจทำการัฐประหารและสถาปนาตนเองขึ้นมาเป็นกษัตริย์ และเป็นการแย่งชิงอำนาจเรียกง่ายๆว่าเหมือนเป็นการทำรัฐประหาร ซึ่งจะทำได้ก็ต้องมีเหล่าขุนนาง ทาสหรือไพร่มากๆสนับสนุน พวกขุนนางต่างๆถือได้ว่ามีบทบาทสำคัญในการเมืองอย่างมากและในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ก็เช่นเดียวกันคือในตอนแรกนั้นก่อนสมัยพระนารายณ์กษัตริย์ที่ปกครองอยู่คือพระเจ้าปราสาททอง และทรงยกราชสมบัติให้แก่เจ้าฟ้าไชยและจากนั้นพระศรีสุธรรมราชาได้ร่วมมือกับพระนารายณ์ทำรัฐประหาร จนสามารถขับเจ้าฟ้าไชยออกไปได้สำเร็จ ที่สามารถทำได้สำเร็จก็คงเป็นเพราะว่าขุนนางซึ่งในตอนนั้นยังไม่มีอำนาจมากเนื่องด้วยในสมัยของพระเจ้าปราสาททอง พระองค์ได้ทรงลิดรอนอำนาจขุนนางอย่างมากทำให้ขุนนางยังฟื้นตัวไม่ทันที่จะหนุนเจ้าฟ้าไชยได้ เจ้าฟ้าไชยจึงถูกขับออกไปได้ง่าย ที่เป็นชนนั้นเพราะว่าการขึ้นมามีอำนาจของเจ้าฟ้าไชยมาจากเหล่าบรรดาขุนนาง และพอมาถึงพระสุธรรมราชาพวกขุนนางฝ่ายปกครองก็พอใจเพราะว่าพระสุธรรมราชาอ่อนแอ คิดว่าคงควบคุมได้ง่ายๆมากกว่าพระนารายณ์เพราะพระนารายณ์ทรงเข้มแข็งกว่ามาก  ในส่วนของพระนารายณ์เองก็หาช่องทางที่จะล้มพระสุธรรมราชาอยู่คือได้พันธมิตรใหม่เป็นพวกชาวต่างชาติเรียกว่าขุนนางฝ่ายชำนาญการพิเศษซึ่งเป็นชาวต่างด้าวนั่นเอง คือพวกเชื้อสายญี่ปุ่น มลายู และปัตตานี เพราะพวกชาวต่างชาติจะมีความชำนาญพิเศษมากกว่าคนไทย พูดง่ายๆคือเก่งกว่า ชำนาญกว่านั่นเอง และที่สำคัญคือเป็นที่น่าไว้วางพระทัยมากว่าขุนนางไทยมาก เมื่อพระนารายณ์ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติแล้ว พระองค์ก็ยังไม่ค่อยไว้ใจใครง่ายๆ คือไม่ไปอยู่ที่พระบรมมหาราชวังเพราะทรงกลัวว่าจะถูกลอบปลงพระชนม์ และก็เป็นไปตามคาดคือเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ได้ไม่นานก็เกิดการกบฏ  เรียกว่ากบฏพระไตรภูวนาถ คือเหมือนกับว่าพวกขุนนางพยายามอยากให้เกิดการกบฏเพราะเป็นการกำจัดกษัตริย์ที่ควบคุมไม่ได้ กล่าวคืออำนาจของขุนนางฝ่ายปกครองไม่สามารถควบคุมพระนารายณ์ได้ สุดท้ายก็ทำไม่สำเร็จ และพระนารายณ์ก็ทรงระวังองค์เองมากขึ้น และได้กระทำเหมือนที่พระเจ้าปราสาททองทำก็คือ ลิดรอนอำนาจขุนนางเพื่อไม่ให้มีอำนาจมากเกินไป และทำให้เหล่าขุนนางไม่มีเสถียรภาพ บางที่ในตำแหน่งที่สำคัญๆมีอำนาจมากๆพระองค์ก็ไม่ทรงแต่งตั้งใครเลยและปล่อยให้ว่างอยู่อย่างนั้น การที่เป็นเช่นนี้ทำให้ขุนนางเกิดความไม่พอใจและต่างก็เสียผลประโยชน์ไปจำนวนไม่น้อย บางทีก็เกิดการกบฏ ซึ่งส่วนให้ก็เกี่ยวพันกับพวกขุนนาง  เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นทำให้พระนารายณ์ไม่ค่อยมีความปลอดภัย และประชานก็ไม่ค่อยชอบพระองค์เท่าไดนัก พระองค์ชอบที่จะเสด็จไปประทับที่เมืองลพบุรีอยู่บ่อยๆ เหมือนเป็นการลี้ภัยทางการเมือง ในสมัยของพระนารายณ์นี้จะเห็นได้มีชาวต่างชาติเข้ามามาก ตั้งแต่สมัยกษัตริย์ก่อนหน้าพระองค์แล้วไม่ว่าจะเป็น ฮอลันดา โปรตุเกส ญี่ปุ่น จีน ฝรั่งเศส แขก อังกฤษ แต่ที่เห็นจะให้ความสำคัญกับฝรั่งเศสมากกว่าประเทศอื่นๆอย่าง คอนสแตนติน ฟอลคอน ซึ่งได้เข้ามารับราชการและมีบทบาทอย่างมากในรัชสมัยนี้ทั้งทางด้านการเมืองและเศษฐกิจ และดูเหมือนพระนารายณ์จะให้ความสำคัญกับบุคคลผู้นี้มากบอกอะไรเชื่อหมดประชาชนก็เดือดร้อนมากทำให้ทั้งประชาชน ขุนนางเกลียดฟอลคอนมาก อีกอย่างหนึ่งดูเหมือนว่าพระนารายณ์มีความขัดแย้งกับคนถึงสามกลุ่ม ทั้งพระสงฆ์ ประชาชน และขุนนาง ในการขัดแย้งกับพระสงฆ์นี้เอง ทำให้ขุนนางคนหนึ่งคือพระเพทราชาซึ่งเป็นขุนนางในฝ่ายปกครอง เป็นตำแหน่งสูงและมีอำนาจมากเนื่องจากมีความสำพันธ์ส่วนตัวกับพระนารายณ์ด้วย พระเพทราชานี้ได้แสดงออกอย่างชัดเจนว่าไม่ชอบฟอลคอน มีความสัมพันธ์อันดีกับพระสงฆ์ และยังอาศัยพระนี่เองเป็นตัวปลุกระดมให้ชาวบ้านก่อการจลาจลขึ้นมา เมื่อเหตุการณ์ที่พระนารายณ์ทรงประชวรก็คงจะมีปัญหาการสืบราชสมบัติแน่ๆละยังเกรงว่าพวกขุนนางฝรั่งเศสจะมีสิทธิเลือกกษัตริย์องค์ใหม่ และคงกลับไปสู่วัฏจักรเดิมๆ กลุ่มพระเพทราชาก็ลุกขึ้นมาฆ่าพวกฝรั่งตายไปก็มาก พระเพทราชานั้นไม่ได้อยู่ในสิทธิที่จะครองราชย์สมบัติ  แต่ได้ประชาชนเป็นแรงพลักดัน พูดง่ายๆคือใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือ สุดท้ายแล้ว เมื่อพระเพทราชาได้ขึ้นมาครองราชย์ทุกสิ่งทุกอย่างก็กลับเข้าสู่สภาวะเดิมคือ กษัตริย์ก็ยังอยู่ห่างไกลจากประชาชนอยู่ดี

บรรณานุกรม
นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์.  การเมืองไทยสมัยพระนารายณ์.  กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2523

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น