วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความเป็นมาของอาณาจักรล้านนา

 


 
อาณาจักรล้านนา จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อาณาจักรล้านนา คือ อาณาจักรที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยภาค ใต้ของจีน หรือ ๑๒ ปันนาเชนเมืองเชียงรุ่ง (จิ่งหง) มณฑลยูนนาน ภาคตะวันออกของพม่า ฝั่งตะวันออกของแม่นำสาละวิน ซึ่งมีเมืองเชียงตุงเป็นเมืองเอก ฝั่งตะวันตกแม่นำสาละวิน มีเมืองนายเป็นเมืองเอก และ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่จังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน แพร่ พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง และ สวางคบุรี(อำเภอลับแล จ.อุตรดิตถ์) โดยมีเมืองเชียงใหม่ เป็นราชธานี มีภาษา ตัวหนังสือ วัฒนธรรม และ ประเพณี เป็นของตนเอง ต่อมาถูกปกครองในฐานะรัฐบรรณาการของอาณาจักรตองอู อาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรอังวะ จนสิ้นฐานะอาณาจักร กลายเป็นเมืองส่วนหนึ่งของอาณาจักรอังวะในราชวงศ์นยองยาน ไปในที่สุด
เนื้อหา


* 1 รายนามกษัตริย์และผู้ปกครอง
o 1.1 รัฐอิสระ พ.ศ. 1835 - 2101
o 1.2 รัฐบรรณาการอาณาจักรตองอู พ.ศ. 2101 - 2139
o 1.3 รัฐบรรณาการอาณาจักรอยุธยา พ.ศ. 2139 - 2157
o 1.4 รัฐบรรณาการอาณาจักรอังวะ พ.ศ. 2157 - 2206
* 2 ประวัติ
o 2.1 การก่อตั้ง
o 2.2 การเมือง การปกครอง สมัยราชวงศ์เม็งราย
o 2.3 การปกครองโดยตองอูและอังวะ
* 3 อาณาเขต
* 4 ศิลปะ
* 5 อ้างอิง
* 6 ดูเพิ่ม
* 7 อ้างอิง

รัฐอิสระ พ.ศ. 1835 - 2101
1 พญามังราย พ.ศ. 1835 - 1854
2 พญาไชยสงคราม พ.ศ. 1854 - 1868 (14 ปี)
3 พญาแสนภู พ.ศ. 1868 - 1877 (11 ปี)
4 พญาคำฟู พ.ศ. 1877 - 1879 (2 ปี)
5 พญาผายู พ.ศ. 1879 - 1898 (19 ปี)
6 พญากือนา พ.ศ. 1898 - 1928 (30 ปี)
7 พญาแสนเมืองมา พ.ศ. 1928 - 1944 (16 ปี)
8 พญาสามฝั่งแกน พ.ศ. 1945 - 1984 (39 ปี)
9 พระเจ้าติโลกราช พ.ศ. 1984 - 2030 (46 ปี)
10 พญายอดเชียงราย พ.ศ. 2030 - 2038 (8 ปี)
11 พญาแก้ว (พระเมืองแก้ว) พ.ศ. 2038 - 2068 (30 ปี)
12 พญาเกศเชษฐราช (พระเมืองเกษเกล้า) พ.ศ. 2068 - 2081 (13 ปี) ครั้งแรก
13 ท้าวซายคำ พ.ศ. 2081 - 2086 (5 ปี)
พญาเกศเชษฐราช (พระเมืองเกษเกล้า) พ.ศ. 2086 - 2088 (2 ปี) ครั้งที่ 2
14 พระนางจิรประภา พ.ศ. 2088 - 2089 (1 ปี)
15 พระไชยเชษฐา พ.ศ. 2089 - 2090 (1 ปี)
ว่างกษัตริย์ พ.ศ. 2090 - 2094 (4 ปี)
16 พระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์ (ท้าวเม่กุ) พ.ศ. 2094 - 2107 ตั้งแต่ พ.ศ. 2101 ปกครองภายใต้อำนาจพม่า

[แก้] รัฐบรรณาการอาณาจักรตองอู พ.ศ. 2101 - 2139
1 พระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์ (ท้าวเม่กุ) พ.ศ. 2094 - 2107 ตั้งแต่ พ.ศ. 2101 ปกครองภายใต้อำนาจพม่า
2 พระนางวิสุทธเทวี พ.ศ. 2107 - 2121 (14 ปี) ธิดาพระเมืองเกษเกล้า
3 สาวถีนรตรามังซอศรีมังสรธาช่อ พ.ศ. 2121 - 2139 ราชบุตรของพระเจ้าบุเรงนอง

[แก้] รัฐบรรณาการอาณาจักรอยุธยา พ.ศ. 2139 - 2157
1 สาวถีนรตรามังซอศรีมังสรธาช่อ พ.ศ. 2139 - 2150 ราชบุตรของพระเจ้าบุเรงนอง
2 พระช้อย (ครั้งที่ 1) พ.ศ. 2150 - 2151 (1 ปี)
3 พระชัยทิพ (มังกอยต่อ) พ.ศ. 2151 - 2156 (5 ปี)


[แก้] รัฐบรรณาการอาณาจักรอังวะ พ.ศ. 2157 - 2206
1 พระช้อย (ครั้งที่ 2) พ.ศ. 2156 - 2158 (2 ปี)
2 พระเจ้าศรีสองเมือง (เจ้าเมืองน่าน) พ.ศ. 2158 - 2174 (16 ปี)
3 พระยาหลวงทิพเนตร พ.ศ. 2174 - 2198 (24 ปี)
4 พระแสนเมือง พ.ศ. 2198 - 2202 (4 ปี)
5 เจ้าเมืองแพร่ พ.ศ. 2202 - 2215 (13 ปี)

[แก้] ประวัติ

[แก้] การก่อตั้ง
พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ คือ พญามังราย พญาร่วง (พ่อขุนรามคำแหง) และพญางำเมือง ขณะทรงปรึกษาหารือการสร้างเมืองเชียงใหม่

พญามังราย หรือ เม็งราย กษัตริย์แห่งหิรัญนครเงินยาง องค์ที่ 25 ในราชวงศ์ลวจังกราชปู่เจ้าลาวจก ได้เริ่มตีเมืองเล็กเมืองน้อย ตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำกก แม่น้ำอิง และแม่น้ำปิงตอน บน รวบรวมเมืองต่างๆให้เป็นปึกแผ่น นอกจากเงินยางแล้ว ยังมีเมืองพะเยาของพญางำเมืองพระสหาย ซึ่งพญาเม็งรายไม่ประสงค์จะได้เมืองพะเยาด้วยการสงคราม แต่ทรงใช้วิธีผูกสัมพันธไมตรีแทน หลังจากขยายอำนาจระยะหนึ่ง พระองค์ทรงย้ายศูนย์กลางการปกครอง โดยสร้างเมืองเชียงรายขึ้นแทนเมืองเงินยาง เนื่องด้วยเชียงรายตั้งอยู่ริมแม่น้ำกกเหมาะเป็นชัยสมรภูมิ ตลอดจนทำการเกษตรและการค้าขาย

หลังจากได้ย้ายศูนย์กลางการปกครองมาอยู่ที่เมืองเชียงรายแล้ว พระองค์ก็ได้ขยายอาณาจักรแผ่อิทธิพลลงทางมาทางทิศใต้ ขณะนั้นก็ได้มีอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองมาก่อนอยู่แล้วคือ อาณาจักรหริภุญชัย มีนครลำพูนเป็นเมืองหลวงตั้งอยู่ในชัยสมรภูมิที่เหมาะสมประกอบด้วยมีแม่น้ำ สองสายไหลผ่านได้แก่แม่น้ำกวงและแม่น้ำปิงซึ่งเป็นลำน้ำสายใหญ่ไหลลงสู่ทะเล เหมาะแก่การค้าขาย มีนครลำปางเป็นเมืองหน้าด่านคอยป้องกันศึกศัตรู สองเมืองนี้เป็นเมืองใหญ่มีกษัตริย์ปกครองอย่างเข้มแข็ง การที่จะเป็นใหญ่ในดินแดนแถบนี้ได้จะต้องตีอาณาจักรหริภุญชัยให้ได้ พระองค์ได้รวบรวมกำลังผู้คนจากที่ได้จากตีเมืองเล็กเมืองน้อยรวมกันเข้าเป็น ทัพใหญ่และยกลงใต้เพื่อจะตีอาณาจักรหริภุญชัยให้ได้ โดยเริ่มจากตีเมืองเขลางค์นคร นครลำปางเมืองหน้าด่านของอาณาจักรหริภุญชัยก่อน เมื่อได้เมืองลำปางแล้วก็ยกทัพเข้าตีนครลำพูน (แคว้นหริภุญชัย) พระองค์เป็นกษัตริย์ชาตินักรบมีความสามารถในการรบไปทั่วทุกสารทิศ สามารถทำศึกเอาชนะเมืองเล็กเมืองน้อยแม้กระทั่งอาณาจักรหริภุญชัยแล้วรวบ เข้ากับอาณาจักรโยนกเชียงแสนได้อย่างสมบูรณ์

หลังจากพญาเม็งรายรวบรวมอาณาจักรหริภุญชัยเข้ากับโยนกเชียงแสนเสร็จสิ้น แล้ว ได้ขนามนามราชอาณาจักรแห่งใหม่นี้ว่า "อาณาจักรล้านนา" พระองค์มีดำริจะสร้างราชธานีแห่งใหม่นี้ให้ใหญ่โตเพื่อให้สมกับเป็นศูนย์ กลางการปกครองแห่งอาณาจักรล้านนาทั้งหมด พร้อมกันนั้นก็ ได้อัญเชิญพระสหายสนิทร่วมน้ำสาบานสองพระองค์ได้แก่ พญางำเมืองแห่งเมืองพะเยา และ พ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย มาร่วมกันสถาปนาราชธานีแห่งใหม่ในสมรภูมิบริเวณที่ลุ่มริมฝั่งมหานทีแม่ระมิงค์ แม่น้ำปิง โดยตั้งชื่อราชธานีแห่งใหม่นี้ว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" แต่ก่อนที่จะตั้งเมือง พระองค์ทรงได้สร้างราชธานีชั่วคราวขึ้นก่อนแล้ว ซึ่งก็เรียกว่า เวียงกุมกามแต่ เนื่องจากเวียงกุมกามประสบภัยธรรมชาติใหญ่หลวงเกิดน้ำท่วมเมืองจนกลายเป็น เมืองบาดาล ดังนั้นพระองค์จึงได้ย้ายราชธานีมาอยู่ ณ นครเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 1839 และได้เป็นศูนย์กลางการปกครองราชอาณาจักรล้านนานับแต่นั้น นครเชียงใหม่มีอาณาบริเวณอยู่ระหว่างเชิงดอยอ้อยช้าง (ดอยสุเทพ) และ บริเวณที่ราบฝั่งขวาของแม่น้ำปิง (พิงคนที) นับเป็นสมรภูมิที่ดีและเหมาะแก่การเพาะปลูกเนื่องจากเป็นบริเวณที่ราบลุ่มมีแม่น้ำไหลผ่าน

[แก้] การเมือง การปกครอง สมัยราชวงศ์เม็งราย
วัดเจดีย์หลวง สร้างขึ้นในช่วงยุคทองของล้านนา องค์พระเจดีย์พังทลายลงมาด้วยแผ่นดินไหวเมื่อปี พ.ศ. 2088

พญาเม็งรายมหาราชทรงส่งพระญาติวงศ์ของพระองค์ ไปปกครองหัวเมืองต่างๆ ที่เป็นเมืองขึ้น หรือเมืองที่สร้างขึ้นใหม่ เช่น เมืองเขลางค์ (ลำปาง) เมืองเขมรัฐเชียงตุง (ในพม่า) และ เชียงรุ้ง (สิบสองปันนาในจีน) ทรงส่งพระราชโอรสไปปกครอง เมืองที่ใหญ่และสำคัญๆ ได้แก่ เมืองนาย (หัวเมืองไทใหญ่) และเชียงราย ซึ่งเคยเป็นเมืองราชธานีของล้านนา

รัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. 1985-2030) กษัตริย์องค์ที่ 9 ราชวงศ์เม็งราย พระองค์ได้รับการยกย่องให้มีฐานะเป็น "ราชาธิราช" พระองค์ทรงแผ่ขยายขอบขัณฑสีมาของอาณาจักรล้านนาให้ยิ่งใหญ่และกว้างขวางกว่าเดิม

* ด้านทิศตะวันออก เมืองนันทบุรี (น่าน) แพร่สวางคบุรี จรดถึง หลวงพระบาง
* ด้านทิศตะวันตก ขยายไปจนถึงรัฐฉาน (ตะวันตกเฉียงเหนือของพม่า) เช่น เมืองไลคา สีป้อ ยองห้วย
* ด้านเหนือ เมืองเชียงรุ้ง เมืองยอง

ในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช อาณาจักรล้านนา ยังได้ทำสงครามกับอาณาจักรอยุธยา ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ นานถึง 25 ปี โดยมีสาเหตุมาจากความต้องการในการแผ่อิทธิพลเข้าไปในสุโขทัยของทั้งสอง อาณาจักร แต่ไม่มีฝ่ายไหนได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาด ทั้งสองอาณาจักรจึงผูกสัมพันธไมตรีต่อกัน

ต่อมาอาณาจักรล้านนาตกเป็นประเทศราชของพม่าในปี 2101

[แก้] การปกครองโดยตองอูและอังวะ

อาณาจักรล้านนา เริ่มเสื่อมลงในปลายรัชสมัย "พญาแก้ว" เมื่อกองทัพเชียงใหม่ได้พ่ายแพ้แก่ทัพเชียงตุงใน การทำสงครามขยายอาณาจักร ไพร่พลในกำลังล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ประกอบกับปีนั้นเกิดอุทกภัยใหญ่หลวงขึ้นในเมืองเชียงใหม่ ทำให้บ้านเรือนราษฎรเสียหายและผู้คนเสียชีวิตลงเป็นจำนวนมาก สภาพบ้านเมืองเริ่มอ่อนแอเกิดความไม่มั่นคง หลังจาก "พญาแก้ว" สิ้นพระชนม์ก็เกิดการจลาจลแย่งชิงราชสมบัติ ระหว่างขุนนางมีอำนาจมากขึ้น ถึงกับแต่งตั้งหรือถอดถอนเจ้าได้ เมื่อนครเชียงใหม่ศูนย์กลางอำนาจเกิดสั่นคลอน เมืองขึ้นต่าง ๆ ที่อยู่ในการปกครองของเชียงใหม่จึงแยกตัวเป็นอิสระ และไม่ส่งเครื่องราชบรรณาการอีกต่อไป

เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 1 พระเจ้าบุเรงนอง แห่งอาณาจักรตองอูได้ ทำศึกมีชัยชนะไปทั่วทุกทิศานุทิศ จนได้รับการขนานนามพระเจ้าผู้ชนะสิบทิศ พระเจ้าบุเรงนองได้ทำศึกยึดครองนครเชียงใหม่ไปประเทศราชได้สำเร็จ รวมทั้งได้เข้าได้ยึดเมืองลูกหลวงและเมืองบริเวณของเชียงใหม่ไปเป็นประเทศราชด้วย ในช่วงแรกนั้นทางพม่ายังไม่ได้เข้ามาปกครองเชียงใหม่โดยตรง เนื่องจากยุ่งกับการศึกกับกรุงศรีอยุธยา แต่ยังคงให้ "พระเจ้าเมกุฎิ" ทำการปกครองบ้านเมืองต่อตามเดิม แต่ทางเชียงใหม่จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการไปให้หงสาวดี ต่อมา "พระเจ้าเมกุฎิ" ทรงคิดที่จะตั้งตนเป็นอิสระ ฝ่ายพม่าจึงปลดออกและแต่งตั้ง "พระนางราชเทวี หรือ พระนางวิสุทธิเทวี" เชื้อสายราชวงศ์เม็งรายพระองค์สุดท้าย ขึ้นเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่แทน จนกระทั่งพระนางราชเทวีสิ้น พระชนม์ ทางฝ่ายพม่าจึงได้ส่งเจ้านายทางฝ่ายพม่ามาปกครองแทน เพื่อคอยดูแลความเรียบร้อยของเมืองเชียงใหม่ ในสมัยนั้นเมืองเชียงใหม่เกือบจะเป็นเมืองพระยามหานครของพม่าแล้ว อีกประการหนึ่งก็เพื่อที่จะเกณฑ์พลชาวเชียงใหม่ และ เตรียมเสบียงอาหารเพื่อไปทำศึกสงครามกับทางกรุงศรีอยุธยา

อาณาจักรล้านนาในฐานะเมืองขึ้นของพม่าไม่ได้มีความสงบสุข มีแต่การกบฎแก่งแย่งชิงอำนาจกันอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่แต่เชียงใหม่อย่างเดียว เมืองอื่นๆในล้านนาก็ด้วย

จนกระทั่งราชวงศ์นยองยาน สถาปนาอาณาจักรรัตนปุระอังวะอีกครั้งจึงหันมาปกครองเชียงใหม่โดยตรง

[แก้] อาณาเขต

หลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวไว้ว่า ดินแดนล้านนานั้นหมายถึงอาณาบริเวณที่ประกอบด้วยเมืองกลุ่มหนึ่ง มีอาณาเขต ทางทิศใจ้จดเมืองตาก (อำเภอบ้านตากในปัจจุบัน) และ จดเขตดินแดนด้านเหนือของอาณาจักรสุโขทัย ทิศตะวันตกจดฝั่งซ้ายของแม่น้ำสาละวิน ทิศตะวันออกจดฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ทิศเหนือจดมเองเชียงรุ่ง ซึ่งบริเวณชายขอบของล้านนา อาทิ เมืองเชียงตุง เชียงรุ่ง เมืองยอง เมืองปุ เมืองสาด เมืองนาย เป็นบริเวณที่รัฐล้านนาแผ่อิทธิพล ไปถึงในเมืองนั้นๆ (ในบางสมัยเท่านั้น) ดินแดนส่วนสำคัญของล้านนาอยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย อันประกอบไปด้วย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน นอกจากนี้ยังมีดินแดนชายขอบล้านนาด้านใต้ ซึ่งบางส่วนของจังหวัดตาก และอุตรดิตถ์ ในสมัยโบราณได้กล่าวถึงเมืองขึ้นกับดินแดนล้านนามี 57 เมือง ดังปรากฏในตำนารน พื้นเมืองของเชียงใหม่ว่า ในสัตตปัญญาสล้านนา 57 หัวเมือง แต่ก็ไม่ได้ระบุว่ามีเมืองใดบ้าง สันนิษฐานว่าน่าจะรวมถึงเมืองขนาดเล็กด้วย เช่น เมืองฝาง เมืองเชียงของ เมืองพร้าว เมืองเชียงดาว เมืองลี้ ฯลฯ เพราะหากนับแต่หัวเมืองหลักแล้วคงมีไม่ถึง[1][2]
 
 
 

ที่มา http://www.kasetsomboon.org/th/joomla-license/2009-05-24-10-30-




14/2009-06-06-21-32-16/338-2009-09-02-08-29-37.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น