วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความเป็นมาของอาณาจักรล้านนา

 


 
อาณาจักรล้านนา จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อาณาจักรล้านนา คือ อาณาจักรที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยภาค ใต้ของจีน หรือ ๑๒ ปันนาเชนเมืองเชียงรุ่ง (จิ่งหง) มณฑลยูนนาน ภาคตะวันออกของพม่า ฝั่งตะวันออกของแม่นำสาละวิน ซึ่งมีเมืองเชียงตุงเป็นเมืองเอก ฝั่งตะวันตกแม่นำสาละวิน มีเมืองนายเป็นเมืองเอก และ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่จังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน แพร่ พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง และ สวางคบุรี(อำเภอลับแล จ.อุตรดิตถ์) โดยมีเมืองเชียงใหม่ เป็นราชธานี มีภาษา ตัวหนังสือ วัฒนธรรม และ ประเพณี เป็นของตนเอง ต่อมาถูกปกครองในฐานะรัฐบรรณาการของอาณาจักรตองอู อาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรอังวะ จนสิ้นฐานะอาณาจักร กลายเป็นเมืองส่วนหนึ่งของอาณาจักรอังวะในราชวงศ์นยองยาน ไปในที่สุด
เนื้อหา


* 1 รายนามกษัตริย์และผู้ปกครอง
o 1.1 รัฐอิสระ พ.ศ. 1835 - 2101
o 1.2 รัฐบรรณาการอาณาจักรตองอู พ.ศ. 2101 - 2139
o 1.3 รัฐบรรณาการอาณาจักรอยุธยา พ.ศ. 2139 - 2157
o 1.4 รัฐบรรณาการอาณาจักรอังวะ พ.ศ. 2157 - 2206
* 2 ประวัติ
o 2.1 การก่อตั้ง
o 2.2 การเมือง การปกครอง สมัยราชวงศ์เม็งราย
o 2.3 การปกครองโดยตองอูและอังวะ
* 3 อาณาเขต
* 4 ศิลปะ
* 5 อ้างอิง
* 6 ดูเพิ่ม
* 7 อ้างอิง

รัฐอิสระ พ.ศ. 1835 - 2101
1 พญามังราย พ.ศ. 1835 - 1854
2 พญาไชยสงคราม พ.ศ. 1854 - 1868 (14 ปี)
3 พญาแสนภู พ.ศ. 1868 - 1877 (11 ปี)
4 พญาคำฟู พ.ศ. 1877 - 1879 (2 ปี)
5 พญาผายู พ.ศ. 1879 - 1898 (19 ปี)
6 พญากือนา พ.ศ. 1898 - 1928 (30 ปี)
7 พญาแสนเมืองมา พ.ศ. 1928 - 1944 (16 ปี)
8 พญาสามฝั่งแกน พ.ศ. 1945 - 1984 (39 ปี)
9 พระเจ้าติโลกราช พ.ศ. 1984 - 2030 (46 ปี)
10 พญายอดเชียงราย พ.ศ. 2030 - 2038 (8 ปี)
11 พญาแก้ว (พระเมืองแก้ว) พ.ศ. 2038 - 2068 (30 ปี)
12 พญาเกศเชษฐราช (พระเมืองเกษเกล้า) พ.ศ. 2068 - 2081 (13 ปี) ครั้งแรก
13 ท้าวซายคำ พ.ศ. 2081 - 2086 (5 ปี)
พญาเกศเชษฐราช (พระเมืองเกษเกล้า) พ.ศ. 2086 - 2088 (2 ปี) ครั้งที่ 2
14 พระนางจิรประภา พ.ศ. 2088 - 2089 (1 ปี)
15 พระไชยเชษฐา พ.ศ. 2089 - 2090 (1 ปี)
ว่างกษัตริย์ พ.ศ. 2090 - 2094 (4 ปี)
16 พระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์ (ท้าวเม่กุ) พ.ศ. 2094 - 2107 ตั้งแต่ พ.ศ. 2101 ปกครองภายใต้อำนาจพม่า

[แก้] รัฐบรรณาการอาณาจักรตองอู พ.ศ. 2101 - 2139
1 พระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์ (ท้าวเม่กุ) พ.ศ. 2094 - 2107 ตั้งแต่ พ.ศ. 2101 ปกครองภายใต้อำนาจพม่า
2 พระนางวิสุทธเทวี พ.ศ. 2107 - 2121 (14 ปี) ธิดาพระเมืองเกษเกล้า
3 สาวถีนรตรามังซอศรีมังสรธาช่อ พ.ศ. 2121 - 2139 ราชบุตรของพระเจ้าบุเรงนอง

[แก้] รัฐบรรณาการอาณาจักรอยุธยา พ.ศ. 2139 - 2157
1 สาวถีนรตรามังซอศรีมังสรธาช่อ พ.ศ. 2139 - 2150 ราชบุตรของพระเจ้าบุเรงนอง
2 พระช้อย (ครั้งที่ 1) พ.ศ. 2150 - 2151 (1 ปี)
3 พระชัยทิพ (มังกอยต่อ) พ.ศ. 2151 - 2156 (5 ปี)


[แก้] รัฐบรรณาการอาณาจักรอังวะ พ.ศ. 2157 - 2206
1 พระช้อย (ครั้งที่ 2) พ.ศ. 2156 - 2158 (2 ปี)
2 พระเจ้าศรีสองเมือง (เจ้าเมืองน่าน) พ.ศ. 2158 - 2174 (16 ปี)
3 พระยาหลวงทิพเนตร พ.ศ. 2174 - 2198 (24 ปี)
4 พระแสนเมือง พ.ศ. 2198 - 2202 (4 ปี)
5 เจ้าเมืองแพร่ พ.ศ. 2202 - 2215 (13 ปี)

[แก้] ประวัติ

[แก้] การก่อตั้ง
พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ คือ พญามังราย พญาร่วง (พ่อขุนรามคำแหง) และพญางำเมือง ขณะทรงปรึกษาหารือการสร้างเมืองเชียงใหม่

พญามังราย หรือ เม็งราย กษัตริย์แห่งหิรัญนครเงินยาง องค์ที่ 25 ในราชวงศ์ลวจังกราชปู่เจ้าลาวจก ได้เริ่มตีเมืองเล็กเมืองน้อย ตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำกก แม่น้ำอิง และแม่น้ำปิงตอน บน รวบรวมเมืองต่างๆให้เป็นปึกแผ่น นอกจากเงินยางแล้ว ยังมีเมืองพะเยาของพญางำเมืองพระสหาย ซึ่งพญาเม็งรายไม่ประสงค์จะได้เมืองพะเยาด้วยการสงคราม แต่ทรงใช้วิธีผูกสัมพันธไมตรีแทน หลังจากขยายอำนาจระยะหนึ่ง พระองค์ทรงย้ายศูนย์กลางการปกครอง โดยสร้างเมืองเชียงรายขึ้นแทนเมืองเงินยาง เนื่องด้วยเชียงรายตั้งอยู่ริมแม่น้ำกกเหมาะเป็นชัยสมรภูมิ ตลอดจนทำการเกษตรและการค้าขาย

หลังจากได้ย้ายศูนย์กลางการปกครองมาอยู่ที่เมืองเชียงรายแล้ว พระองค์ก็ได้ขยายอาณาจักรแผ่อิทธิพลลงทางมาทางทิศใต้ ขณะนั้นก็ได้มีอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองมาก่อนอยู่แล้วคือ อาณาจักรหริภุญชัย มีนครลำพูนเป็นเมืองหลวงตั้งอยู่ในชัยสมรภูมิที่เหมาะสมประกอบด้วยมีแม่น้ำ สองสายไหลผ่านได้แก่แม่น้ำกวงและแม่น้ำปิงซึ่งเป็นลำน้ำสายใหญ่ไหลลงสู่ทะเล เหมาะแก่การค้าขาย มีนครลำปางเป็นเมืองหน้าด่านคอยป้องกันศึกศัตรู สองเมืองนี้เป็นเมืองใหญ่มีกษัตริย์ปกครองอย่างเข้มแข็ง การที่จะเป็นใหญ่ในดินแดนแถบนี้ได้จะต้องตีอาณาจักรหริภุญชัยให้ได้ พระองค์ได้รวบรวมกำลังผู้คนจากที่ได้จากตีเมืองเล็กเมืองน้อยรวมกันเข้าเป็น ทัพใหญ่และยกลงใต้เพื่อจะตีอาณาจักรหริภุญชัยให้ได้ โดยเริ่มจากตีเมืองเขลางค์นคร นครลำปางเมืองหน้าด่านของอาณาจักรหริภุญชัยก่อน เมื่อได้เมืองลำปางแล้วก็ยกทัพเข้าตีนครลำพูน (แคว้นหริภุญชัย) พระองค์เป็นกษัตริย์ชาตินักรบมีความสามารถในการรบไปทั่วทุกสารทิศ สามารถทำศึกเอาชนะเมืองเล็กเมืองน้อยแม้กระทั่งอาณาจักรหริภุญชัยแล้วรวบ เข้ากับอาณาจักรโยนกเชียงแสนได้อย่างสมบูรณ์

หลังจากพญาเม็งรายรวบรวมอาณาจักรหริภุญชัยเข้ากับโยนกเชียงแสนเสร็จสิ้น แล้ว ได้ขนามนามราชอาณาจักรแห่งใหม่นี้ว่า "อาณาจักรล้านนา" พระองค์มีดำริจะสร้างราชธานีแห่งใหม่นี้ให้ใหญ่โตเพื่อให้สมกับเป็นศูนย์ กลางการปกครองแห่งอาณาจักรล้านนาทั้งหมด พร้อมกันนั้นก็ ได้อัญเชิญพระสหายสนิทร่วมน้ำสาบานสองพระองค์ได้แก่ พญางำเมืองแห่งเมืองพะเยา และ พ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย มาร่วมกันสถาปนาราชธานีแห่งใหม่ในสมรภูมิบริเวณที่ลุ่มริมฝั่งมหานทีแม่ระมิงค์ แม่น้ำปิง โดยตั้งชื่อราชธานีแห่งใหม่นี้ว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" แต่ก่อนที่จะตั้งเมือง พระองค์ทรงได้สร้างราชธานีชั่วคราวขึ้นก่อนแล้ว ซึ่งก็เรียกว่า เวียงกุมกามแต่ เนื่องจากเวียงกุมกามประสบภัยธรรมชาติใหญ่หลวงเกิดน้ำท่วมเมืองจนกลายเป็น เมืองบาดาล ดังนั้นพระองค์จึงได้ย้ายราชธานีมาอยู่ ณ นครเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 1839 และได้เป็นศูนย์กลางการปกครองราชอาณาจักรล้านนานับแต่นั้น นครเชียงใหม่มีอาณาบริเวณอยู่ระหว่างเชิงดอยอ้อยช้าง (ดอยสุเทพ) และ บริเวณที่ราบฝั่งขวาของแม่น้ำปิง (พิงคนที) นับเป็นสมรภูมิที่ดีและเหมาะแก่การเพาะปลูกเนื่องจากเป็นบริเวณที่ราบลุ่มมีแม่น้ำไหลผ่าน

[แก้] การเมือง การปกครอง สมัยราชวงศ์เม็งราย
วัดเจดีย์หลวง สร้างขึ้นในช่วงยุคทองของล้านนา องค์พระเจดีย์พังทลายลงมาด้วยแผ่นดินไหวเมื่อปี พ.ศ. 2088

พญาเม็งรายมหาราชทรงส่งพระญาติวงศ์ของพระองค์ ไปปกครองหัวเมืองต่างๆ ที่เป็นเมืองขึ้น หรือเมืองที่สร้างขึ้นใหม่ เช่น เมืองเขลางค์ (ลำปาง) เมืองเขมรัฐเชียงตุง (ในพม่า) และ เชียงรุ้ง (สิบสองปันนาในจีน) ทรงส่งพระราชโอรสไปปกครอง เมืองที่ใหญ่และสำคัญๆ ได้แก่ เมืองนาย (หัวเมืองไทใหญ่) และเชียงราย ซึ่งเคยเป็นเมืองราชธานีของล้านนา

รัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. 1985-2030) กษัตริย์องค์ที่ 9 ราชวงศ์เม็งราย พระองค์ได้รับการยกย่องให้มีฐานะเป็น "ราชาธิราช" พระองค์ทรงแผ่ขยายขอบขัณฑสีมาของอาณาจักรล้านนาให้ยิ่งใหญ่และกว้างขวางกว่าเดิม

* ด้านทิศตะวันออก เมืองนันทบุรี (น่าน) แพร่สวางคบุรี จรดถึง หลวงพระบาง
* ด้านทิศตะวันตก ขยายไปจนถึงรัฐฉาน (ตะวันตกเฉียงเหนือของพม่า) เช่น เมืองไลคา สีป้อ ยองห้วย
* ด้านเหนือ เมืองเชียงรุ้ง เมืองยอง

ในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช อาณาจักรล้านนา ยังได้ทำสงครามกับอาณาจักรอยุธยา ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ นานถึง 25 ปี โดยมีสาเหตุมาจากความต้องการในการแผ่อิทธิพลเข้าไปในสุโขทัยของทั้งสอง อาณาจักร แต่ไม่มีฝ่ายไหนได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาด ทั้งสองอาณาจักรจึงผูกสัมพันธไมตรีต่อกัน

ต่อมาอาณาจักรล้านนาตกเป็นประเทศราชของพม่าในปี 2101

[แก้] การปกครองโดยตองอูและอังวะ

อาณาจักรล้านนา เริ่มเสื่อมลงในปลายรัชสมัย "พญาแก้ว" เมื่อกองทัพเชียงใหม่ได้พ่ายแพ้แก่ทัพเชียงตุงใน การทำสงครามขยายอาณาจักร ไพร่พลในกำลังล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ประกอบกับปีนั้นเกิดอุทกภัยใหญ่หลวงขึ้นในเมืองเชียงใหม่ ทำให้บ้านเรือนราษฎรเสียหายและผู้คนเสียชีวิตลงเป็นจำนวนมาก สภาพบ้านเมืองเริ่มอ่อนแอเกิดความไม่มั่นคง หลังจาก "พญาแก้ว" สิ้นพระชนม์ก็เกิดการจลาจลแย่งชิงราชสมบัติ ระหว่างขุนนางมีอำนาจมากขึ้น ถึงกับแต่งตั้งหรือถอดถอนเจ้าได้ เมื่อนครเชียงใหม่ศูนย์กลางอำนาจเกิดสั่นคลอน เมืองขึ้นต่าง ๆ ที่อยู่ในการปกครองของเชียงใหม่จึงแยกตัวเป็นอิสระ และไม่ส่งเครื่องราชบรรณาการอีกต่อไป

เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 1 พระเจ้าบุเรงนอง แห่งอาณาจักรตองอูได้ ทำศึกมีชัยชนะไปทั่วทุกทิศานุทิศ จนได้รับการขนานนามพระเจ้าผู้ชนะสิบทิศ พระเจ้าบุเรงนองได้ทำศึกยึดครองนครเชียงใหม่ไปประเทศราชได้สำเร็จ รวมทั้งได้เข้าได้ยึดเมืองลูกหลวงและเมืองบริเวณของเชียงใหม่ไปเป็นประเทศราชด้วย ในช่วงแรกนั้นทางพม่ายังไม่ได้เข้ามาปกครองเชียงใหม่โดยตรง เนื่องจากยุ่งกับการศึกกับกรุงศรีอยุธยา แต่ยังคงให้ "พระเจ้าเมกุฎิ" ทำการปกครองบ้านเมืองต่อตามเดิม แต่ทางเชียงใหม่จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการไปให้หงสาวดี ต่อมา "พระเจ้าเมกุฎิ" ทรงคิดที่จะตั้งตนเป็นอิสระ ฝ่ายพม่าจึงปลดออกและแต่งตั้ง "พระนางราชเทวี หรือ พระนางวิสุทธิเทวี" เชื้อสายราชวงศ์เม็งรายพระองค์สุดท้าย ขึ้นเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่แทน จนกระทั่งพระนางราชเทวีสิ้น พระชนม์ ทางฝ่ายพม่าจึงได้ส่งเจ้านายทางฝ่ายพม่ามาปกครองแทน เพื่อคอยดูแลความเรียบร้อยของเมืองเชียงใหม่ ในสมัยนั้นเมืองเชียงใหม่เกือบจะเป็นเมืองพระยามหานครของพม่าแล้ว อีกประการหนึ่งก็เพื่อที่จะเกณฑ์พลชาวเชียงใหม่ และ เตรียมเสบียงอาหารเพื่อไปทำศึกสงครามกับทางกรุงศรีอยุธยา

อาณาจักรล้านนาในฐานะเมืองขึ้นของพม่าไม่ได้มีความสงบสุข มีแต่การกบฎแก่งแย่งชิงอำนาจกันอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่แต่เชียงใหม่อย่างเดียว เมืองอื่นๆในล้านนาก็ด้วย

จนกระทั่งราชวงศ์นยองยาน สถาปนาอาณาจักรรัตนปุระอังวะอีกครั้งจึงหันมาปกครองเชียงใหม่โดยตรง

[แก้] อาณาเขต

หลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวไว้ว่า ดินแดนล้านนานั้นหมายถึงอาณาบริเวณที่ประกอบด้วยเมืองกลุ่มหนึ่ง มีอาณาเขต ทางทิศใจ้จดเมืองตาก (อำเภอบ้านตากในปัจจุบัน) และ จดเขตดินแดนด้านเหนือของอาณาจักรสุโขทัย ทิศตะวันตกจดฝั่งซ้ายของแม่น้ำสาละวิน ทิศตะวันออกจดฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ทิศเหนือจดมเองเชียงรุ่ง ซึ่งบริเวณชายขอบของล้านนา อาทิ เมืองเชียงตุง เชียงรุ่ง เมืองยอง เมืองปุ เมืองสาด เมืองนาย เป็นบริเวณที่รัฐล้านนาแผ่อิทธิพล ไปถึงในเมืองนั้นๆ (ในบางสมัยเท่านั้น) ดินแดนส่วนสำคัญของล้านนาอยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย อันประกอบไปด้วย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน นอกจากนี้ยังมีดินแดนชายขอบล้านนาด้านใต้ ซึ่งบางส่วนของจังหวัดตาก และอุตรดิตถ์ ในสมัยโบราณได้กล่าวถึงเมืองขึ้นกับดินแดนล้านนามี 57 เมือง ดังปรากฏในตำนารน พื้นเมืองของเชียงใหม่ว่า ในสัตตปัญญาสล้านนา 57 หัวเมือง แต่ก็ไม่ได้ระบุว่ามีเมืองใดบ้าง สันนิษฐานว่าน่าจะรวมถึงเมืองขนาดเล็กด้วย เช่น เมืองฝาง เมืองเชียงของ เมืองพร้าว เมืองเชียงดาว เมืองลี้ ฯลฯ เพราะหากนับแต่หัวเมืองหลักแล้วคงมีไม่ถึง[1][2]
 
 
 

ที่มา http://www.kasetsomboon.org/th/joomla-license/2009-05-24-10-30-




14/2009-06-06-21-32-16/338-2009-09-02-08-29-37.html


ถิ่นกำเนิดชนชาติไทย

แนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดคนไทย

การศึกษาค้นคว้า ความเป็นมาของผู้คนในดินแดนต่าง ๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย เริ่มขึ้นโดยชาวตะวันตกซึ่งใช้วิธีการค้นคว้า คือ เดินทางไปสำรวจด้วย ตนเอง สอบสวนค้นคว้าทางภาษา การแต่งกาย ความเป็นอยู่ สภาพบ้านเมือง ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะและอื่น ๆ แล้วนำข้อมูลที่ได้จากประจักษ์พยานไปประมวลเป็นงานเขียนหรือรายงานการสำรวจ และอีกวิธีคือ สืบค้นนำข้อมูลที่ได้จากประจักษ์พยานไปประมวลเป็นงานค้นคว้าของชาวต่างประเท ศที่เรียบเรียงไว้ ดังนั้นวิธีการดังกล่าวรวมทั้งการศึกษาค้นคว้าของคนไทยได้ก่อให้เกิดความหลา กหลายในทัศนะเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของคนไทย ดังนี้
1. กลุ่มที่เชื่อว่าถิ่นกำเนิดคนไทยอยู่ในบริเวณมณฑลเสฉวน ประเทศจีน
เต เรียน เดอ ลาคูเปอรี (Terrien de la couperie) ศาสตราจารย์ชาวอังกฤษ ประจำมหาวิทยาลัยลอนดอน ผู้เชี่ยวชาญทางภาษาศาสตร์ของอินโดจีน เป็นเจ้าของความคิดนี้ ผลงานของท่านชื่อ The Cradle of the Shan Race ตีพิมพ์ พ.ศ.2428 อาศัยหลักฐานจีนโดยพิจารณาความคล้ายคลึงกันทางภาษาของผู้คนในจีนและเอเชียตะ วันออกเฉียงใต้ แล้วสรุปว่า คนเชื้อชาติไทยตั้งถิ่นฐานในดินแดนจีนก่อนจีน คือเมื่อ 2208 ปีก่อนคริสตกาล ดังปรากฏในรายงานการสำรวจภูมิประเทศจีน ถิ่นที่อยู่ของคนไทยที่ปรากฏในจดหมายเหตุจีนนี้อยู่ในเขตมณฑลเสฉวนในปัจุบัน
งานของลาคูเปอรี ได้รับการสืบทอดต่อมาในงานเขียนของนักวิชาการไทย เช่น สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประภาศิริ เสฐียรโกเศศ พระยาอนุมานราชธน หลวงวิจิตรวาทการ และศาสตราจารย์รอง ศยามานนท์
2. กลุ่มที่เชื่อว่าถิ่นกำเนิดคนไทยอยู่แถบเทือกเขาอัลไต ทางตอนเหนือของประเทศจีน
เจ้า ของความคิด คือ หมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน ชื่อ วิลเลียม คลิฟตัน ดอดด์ (William Clifton Dodd) ได้เดินทางไปสำรวจความเป็นอยู่ของชาติต่าง ๆ ในดินแดนใกล้เคียงพร้อมทั้งเผยแพร่ศาสนาด้วย โดยเริ่มจากเชียงราย เชียงตุง สิบสองปันนา ยูนนาน จนถึง ฝั่งทะเลกวางตุ้ง ผลจากการสำรวจปรากฏในงานเขียนเรื่อง The Thai Race : The Elder Brother of the Chinese ซึ่งเขียนขึ้นในปี พ.ศ.2452 งานเขียนนี้สรุปว่าไทยสืบเชื้อสายจากมองโกลและเป็นชาติเก่าแก่กว่าจีนและฮิบ รู งานเขียนของหมอดอดด์ ได้รับความสนใจทั้ง ชาวไทยและต่างประเทศ นักวิชาการไทยคนสำคัญที่สืบทอดความคิดของหมอดอดด์ คือ ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) ได้เขียนงานเขียนชื่อ “หลักไทย” เป็นหนังสือแต่งทางประวัติศาสตร์ ได้รับพระราชทานรางวัลของพระบาทสมเด็กพระปกเกล้าฯ กับประกาศนียบัตรวรรณคดีของราชบัณฑิตยสภา ใน พ.ศ.2471 ในหนังสือ หลักไทย สรุปว่าแหล่งกำเนิดของคนไทยอยู่บริเวณเทือกเขาอัลไต (แหล่งกำเนิดของมองโกลด้วย) หลักสูตรไทยได้ใช้เป็นตำราเรียนประวัติศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการเป็นเวลาน าน แต่ปัจจุบัน แนวคิดนี้ได้รับการยอมรับน้อยมาก
3.กลุ่ม ที่เชื่อว่าไทยมีถิ่นกำเนิดกระจัด กระจายทั่วไปในบริเวณตอนใต้ของจีนและทางเหนือของภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ ตลอดจนแคว้นอัสสัมของอินเดีย
นักสำรวจชาวอังกฤษ ชื่อ โคลกูฮุน (Archibal R. Colguhon) เป็นผู้ริเริ่มความเชื่อนี้ เขาได้เดินทางจากกวางตุ้งตลอดถึงมัณฑเลย์ในพม่าและได้เขียนหนังสือชื่อ Chrysi เล่าเรื่องการเดินทางสำรวจดินแดนดังกล่าว และเขียนรายงานไว้ว่าพบคนไทยเชื้อชาติไทยในแถบนี้ งานเขียนนี้ตีพิมพ์ในอังกฤษเมื่อ พ.ศ.2428 ผู้เขียนได้รับรางวัลเหรียญทองจากสมาคมภูมิศาสตร์ของอังกฤษ ต่อมาหนังสือเล่มนี้ได้แปลเป็นภาษาฝรั่งเศสและเยอรมัน ทำให้แนวคิดนี้แพร่หลายออกไป
นอกจากนี้มีงานค้นคว้าประเภทอาศัยการตี ความหลักฐานจีนอีก เช่น งานของ E.H. Parker ปาร์คเกอร์ กงสุลอังกฤษประจำเกาะไหหลำ เขียนบทความเรื่องน่านเจ้า พิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ.2437 โดยอาศัยตำนานจีน บทความนี้พูดถึงอาณาจักรน่านเจ้าเป็นอาณาจักรของคนไทยเฉพาะราชวงศ์สินุโลและ คนไทยเหล่านี้ถูกคนจีนกดดันถึงอพยพลงมาทางใต้ งานของเขียนปาร์คเกอร์ได้รับการสนับสนุนจากทั้งนักวิชาการตะวันตกและจีน (ศาสตราจารย์ติง ศาสตราจารย์ โชนิน ศาสตราจารย์ชุนแชง) และญี่ปุ่น (โยชิโร ชิราโทริ)
งานค้นคว้าที่เดิ่นอีกคืองานของ วิลเลียม เคร์ดเนอร์ (Willian Credner) ซึ่งค้นคว้าเกี่ยวกับยูนนานโดยสำรวจภูมิประเทศและเผ่าพันธุ์ที่ตกค้างในยูนน าน สรุปว่าถิ่นเดิมของชนเผ่าไทยควรอาศัยในที่ต่ำใกล้ทะเล เช่น มณฑลกวางสี กวางตุ้ง ส่วนแถบอัลไตคนไทยไม่น่าจะอยู่เพราะคนไทยชอบปลูกข้าว ชอบดินแดนแถบร้อนไม่ชอบเนินเขา
นอกจากนี้ วูลแกรม อีเบอร์ฮาด (Wolgram E berhard) ชาวเยอรมันผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมวิทยา มานุษยวิทยา และโบราณคดีจีน ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของไทยในงานเขียนชื่อ A History of China (พิมพ์เป็นภาษาเยอรมัน ต่อมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ) สรุปว่าเผ่าไทยอยู่บริเวณมณฑลกวางตุ้ง ต่อมาอพยพมาอยู่แถบยูนนานและดินแดนในอ่าวตังเกี๋ย (สมัยราชวงศ์ฮั่น) ได้สร้างอาณาจักรเทียนหรือแถน และถึงสมัยราชวงศ์ถัง เผ่าไทยได้สถาปนาอาณาจักรน่านเจ้าขึ้นที่ยูนนาน
งานเขียนของบุคคลเหล่า นี้ได้ให้แนวคิดแก่นักวิชาการไทยและต่างประเทศในระยะต ่อมา เช่น ยอร์ช เซเดส์ ชาวฝรั่งเศส ได้สรุปว่าชนชาติไทยอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของจีน แถบตังเกี๋ย ลาว สยาม ถึงพม่า และอัสสัม
ส่วนนักวิชาการไทยที่สนใจ ศึกษาค้นคว้าความเป็นมาของคนไทยทั้งจากเอกสารไทยแล ะต่างประเทศคือพระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค) งานเขียนของท่าน คือ พงศารโยนก ตีพิมพ์ระหว่างปี พ.ศ.2441-2442 งานชิ้นนี้สรุปว่าคนไทยมาจากตอนใต้ของจีนและ นักวิชาการไทยอีกท่านหนึ่งคือ จิตร ภูมิศักดิ์ ได้ใช้วิธีการทางนิรุกติศาสตร์ วิเคราะห์ตำนาน พงศาวดารท้องถิ่นทางเหนือของไทยและตรวจสอบกับจารึกของประเทศข้างเคียง เขียนหนังสือ ชื่อ “ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และจาม และลักษณะสังคมของชื่อชนชาติ” พิมพ์เผยแพร่ พ.ศ.2519 จิตรสรุปว่าที่อยู่ของคนเผ่าไทย อาศัยอยู่กระจัดกระจายในบริเวณทางตอนใต้ของจีนและบริเวณภาคเหนือของไทย ลาว เมขร พม่า และรัฐอัสสัมในอินเดีย และให้ความเห็นเกี่ยวกับน่านเจ้าว่า น่านเจ้าเป็นรัฐทางใต้สุด เดิมจีนเรียกอาษาจักรไต - หลอหลอ (น่านเจ้า แปลว่า เจ้าทางทิศใต้)
จะเห็นได้ว่าในบรรดานักวิชาการที่เชื่อว่าอดีต ของเผ่าไทยอยู่กระจัดกระจายใน บริเวณตอนใต้ของจีนและบริเวณทางเหนือของไทย ลาว พม่า เวียดนาม กัมพูชา และรัฐอัสสัม และอินเดีย ต่างก็มีทัศนะที่ต่างกันในรายละเอียด โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับอาณาจักรน่านเจ้าและนักวิชาการกลุ่มนี้เริ่มศึกษาค้น คว้าเรื่องราวของคนไทยโดยอาศัยหลักฐานหลายด้าน ทั้งด้านนิรุกติศาสตร์ มานุษยวิทยา หลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี
4. กลุ่มที่เชื่อว่าถิ่นเดิมของไทยอยู่บริเวณประเทศไทยปัจจุบัน
พอ ล เบเนดิคท์ (Paul Benedict) นักภาษาศาสตร์และมนุษยวิทยาชาวอเมริกัน ค้นคว้าเรื่องเผ่าไทยโดยอาศัยหลักฐานทางภาษาศาสตร์และสรุปว่า ถิ่นเดิมของไทยน่าจะอยู่ในดินแดนประเทศไทย ตั้งแต่เมื่อประมาณ 4000-3500 ปีมาแล้ว พวกตระกูลมอญ เขมร อพยพมาจากอินเดียเข้าสู่แหลมอินโดจีนได้ผลักดันคนไทยให้กระจัดกระจายไปหลายท างขึ้นไปถึงทางใต้ของจีนปัจจุบัน ต่อมาถูกจีนผลักดันจนอพยพลงใต้ไปอยู่ในเขตอัสสัม ฉาน ลาว ไทย และตังเกี๋ย จึงมีกลุ่มชนที่พูดภาษาไทยกระจัดกระจายไปทั่ว
นักวิชาการไทย นายแพทย์สุด แสงวิเชียร และศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี ให้ความเห็นว่าดินแดนไทยปัจจุบันเป็นที่อาศัยของหมู่ชนที่เป็นบรรพบุรุษของไ ทยปัจจุบัน มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์และสรุปว่าบรรพบุรุษไทยอยู่ในดินแดนประเทศไท ยมาตลอด เนื่องจากหลักฐานทางโบราณคดีได้แสดงถึงความต่อเนื่องทางวัฒนธรรมรวมทั้งการศ ึกษาเปรียบเทียบลักษณะโครงกระดูกที่ขุดพบ
5. กลุ่มที่เชื่อว่า ถิ่นเดิมของไทยอาจอยู่ทางบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
หรืออินโดจีน หรือบริเวณคาบสมุทรมลายู และค่อย ๆ กระจายไปทางตะวันตก และทางใต้ของอินโดจีนและทางใต้ของจีน
กลุ่ม นี้ศึกษาประวัติความเป็นมาของชนชาติไทยด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์บนรากฐาน ของวิชาพันธุศาสตร์ คือการศึกษาความถี่ของยีนและหมู่เลือดและการศึกษาเรื่องฮีโมโกลบินอี เช่น นายแพทย์สมศักดิ์ พันธุ์สมบุญ ได้ศึกษาความถี่ของยีนและหมู่เลือด พบว่าหมู่เลือดของคนไทยคล้ายกับชาวชวาทางใต้มากกว่าจีนทางเหนือ จากการศึกษาวิธีนี้สรุปได้ว่า คนไทยมิได้สืบเชื้อสายจากคนจีน
ส่วนการ ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับฮีโมโกลบินอีนั้น นายแพทย์ประเวศ วะสี และกลุ่มนักวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น สรุปว่า ฮีโมโกลบินอี พบมากในผู้คนในแถบเอเชียอาคเนย์ คือ ไทย ลาว พม่า มอญ และอื่น ๆ สำหรับประเทศไทยผู้คนทางภาคอีสานมีฮีโมโกลบินอีมากที่สุด (คนจีนเกือบไม่มีเลย)
สรุป ปัจจุบันความก้าวหน้าทางวงการศึกษามีมากขึ้นและมีการแตกแขนงวิชาออกไปมากมาย เพื่อหาคำตอบเรื่องของมนุษย์และสังคมที่มนุษย์อยู่ ทำให้ความรู้และความเชื่อเดิมของมนุษย์ถูกตรวจสอบอย่างจริงจัง ด้วยเหตุนี้ความเชื่อในเรื่องถิ่นกำเนิดของคนไทยซึ่งอยู่ที่มณฑลเสฉวนและทาง ภูเขาอัลไตจึงถูกวิพากษ์ถึงความสมเหตุสมผล และเมื่อมีการประสานกันค้นคว้าจากสหวิชาการจึงได้คำตอบในแนวใหม่ว่าคนเผ่าไท เป็นเผ่าที่อยู่กระจัดกระจายในแนวกว้างในบริเวณตอนใต้ของยูนนาน ทางตอนเหนือของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และรัฐอัสสัมของอินเดีย พื้นฐานความเชื่อใหม่นี้อาศัยหลักฐานทางประวัติศาสตร์และหลักฐานทางโบราณคดี ทำให้ทราบได้ว่า คนเผ่านี้รู้จักกันในชื่อต่าง ๆ ในแต่ละท้องถิ่น เช่น ไทใหญ่ ไทอาหม ผู้ไท ไทดำ ไทขาว ไทลื้อ ไทลาว ไทยวน เป็นต้น การค้นคว้าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดียังสอดคล้องกับการค้นคว้าทางด้านนิรุ กติศาสตร์และภาษาศาสตร์ที่พบว่า คนในบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่เรียกชนชาติไทยว่า ชาม ชาน เซม เซียม ซียาม เสียมบ้าง และในภาษาจีนเรียกว่า ส่าน ส้าน (สำหรับคนไทโดยทั่วไป) และเซียม (สำหรับไทสยาม) และความหมายของคำที่เรียกคนไทก็มีความหมายสอดคล้องกับลักษณะชีวิตทางด้านสัง คมและการทำมาหากินของคนไทยเช่นคำว่า “ส่าน” ซึ่งเป็นคำภาษาจีนเรียกคนไท แปลว่า “ลุ่มแม่น้ำ” ความหมายนี้มีลักษณะสอดคล้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของชนชาติไทที่ก่อตั้งชุมช นขึ้นในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำและทำอาชีพกสิกรรม รู้จักทำทำนบหยาบ ๆ พร้อมทั้งคันคูระบายน้ำคือ เหมือง ฝาย รู้จักใช้แรงงานสัตว์และใช้เครื่องมือในการทำนา เช่น จอบ คราด ไถ

**ปัจจุบัน การศึกษาค้นคว้าเรื่องถิ่นเดิมของชนชาติไทย และคนไทยในประเทศไทยปัจจุบัน คือการหันมาให้ความสนใจทางด้านวัฒนธรรมมากกว่าเรื่องเชื้อชาติ เพราะไม่มีเชื้อชาติใดในโลกนี้ที่เป็นเชื้อชาติบริสุทธิ์และยิ่งใหญ่เหนือชน เชื้อชาติอื่น ดินแดนประเทศไทยเป็นทางผ่านที่คนหลายเผ่าพันธุ์ หลายตระกูลเคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งรกราก ประเทศไทยเป็นแหล่งสะสมของคนหลายหมู่เหล่าก่อนที่จะพัฒนาขึ้นมาเป็นรัฐประชา ชาติที่เรียกว่าประเทศไทย ดังนั้นการเป็นคนไทจึงควรมองที่วัฒนธรรมไทยมากกว่าเรื่องเชื้อชาติ
------------------
จากที่ได้ศึกษาจากหนังสือทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของคนไทยแล้วนั้น สามารถสรุปเป็นแนวคิดกว้าง ๆได้ 5 กลุ่มดังนี้คือ
1. เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของคนไทยอยู่ในบริเวณมณฑลเสฉวน ถูกจีนรุกราน แล้วอพยพลงสู่ยูนานและแหลมอินโดจีน นักวิชาการที่เป็นผู้คิดทฤษฎีนี้คือ เตเรียน เดอร์ ลาคูเปอรี

2. เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของคนไทยอยู่ในบริเวณเทือกเขาอัลไต สรุปได้ว่าไทยเป็นเชื้อสายมองโกล เรียกว่าลาวหรือต้ามุง เนื่องจากถูกขนเผ่าอื่นรุกรานจึงอพยพมาจากตอนกลางมาสู่ตอนใต้ของจีน และเข้าสู่อินโดจีน นักวิชาการที่เป็นผู้คิดทฤษฎีนี้คือ วิลเลี่ยม คลิฟตันด๊อด

3. เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของคนไทยกระจัดกระจายทั่วไปในบริเวณตอนใต้ของจีน และทางตอนเหนือของภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนบริเวณ รัฐอัสสัมของอินเดีย นักวิชาการที่เป็นผู้คิดทฤษฎีนี้คือ วูลแฟรม อีเบอร์ฮาด , เฟรเดอริก โมต , วิลเลียม เก๊ดนีย์

4. เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของคนไทยอยู่ในบริเวณเนื้อที่ประเทศไทยปัจจุบัน เนื่องจากมีการตรวจวิเคราะห์โครงกระดูกในยุคหินใหม่ ที่ขุดค้นพบในประเทศไทย นักวิชาการที่เป็นผู้คิดทฤษฎีนี้คือ นายแพทย์สุด แสงวิเชียร , ศาสตราจารย์ ชิน อยู่ดี

5. เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของคนไทยอาจอยู่ในบริเวณคาบสมุทรมลายู หรือบริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย และค่อย ๆ แพร่กระจายไปทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตอนใต้ของจีน เนื่องจากมีการเปรียบเทียบหมู่เลือด และความถี่ของยีน นักวิชาการที่เป็นผู้คิดทฤษฎีนี้คือ นายแพทย์สมศักดิ์ พันธุ์สมบูรณ์ , นายแพทย์ประเวศ วะสี

จากทฤษฎีต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้ สามารถสรุปรวมกันได้คือ คนไทยมีต้นกำเนิดมาจากพื้นที่ที่เป็นทวีปเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปัจจุบัน คือจากประเทศจีน ประเทศไทย และประเทศแถบอินโดนีเซีย
ขอบคุณข้อมูลจาก :
คนไทยมาจากไหน

ประวัติศาสตร์ไทย

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเป็นวีรกษัตริย์ที่ปวงชนชาวไทยรู้จักกันมากที่สุด เรื่องราวการรบเพื่อสถาปนาความมั่นคงและเอกราชของอาณาจักรศรีอโยธยาได้ถูกบันทึกและเล่าขานสืบมาจนกลายเป็นตำนานที่คนรุ่นหลังไม่เคยลืม และไม่เฉพาะแต่วีรกรรมของพระองค์และเหล่าขุนศึกเท่านั้นที่ได้ถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ หากยังรวมถึงเรื่องราวของศาสตราวุธคู่พระทัยทั้งสามของพระองค์ด้วย

พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง

เรื่องราวของมหาศาสตราวุธชิ้นนี้ เกิดขึ้นใน ปี พ.ศ. 2127 อันเป็นปีที่สมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพของอโยธยาจากกรุงหงสาวดี ในครั้งนั้น หลังจากพระมหาอุปราชาทราบข่าวว่า สมเด็จพระนเรศวรได้ประกาศอิสรภาพและกวาดต้อนราษฏรไทยมอญกลับไปยังกรุงอโยธยา พระองค์จึงจัดทัพให้ พระสุรกรรมา แม่ทัพคนสำคัญคุมกองหน้า ส่วนพระมหาอุปราชาเองทรงเป็นกองหลวงยกติดตามกองทัพอโยธยามา กองหน้าของหงสาวดีตามมาทันที่ริมฝั่งแม่น้ำสะโตง

ในขณะที่ฝ่ายไทยได้ข้ามแม่น้ำไปแล้ว ทั้งสองฝ่ายได้ยิงปืนต่อสู้กันที่ริมแม่น้ำ ทว่าแม่สะโตงนั้นกว้างนัก จึงไม่มีกระสุนของฝ่ายใดทำอันตรายอีกฝ่ายหนึ่งได้ ในเวลานั้น สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงใช้พระแสงปืนคาบชุดยาวเก้าคืบ ยิงถูกพระสุรกรรมาแม่ทัพหน้าหงสาวดีตายบนคอช้าง กองทัพมอญพม่า เห็นแม่ทัพของตนตาย ก็พากันเลิกทัพกลับไป ครั้นเมื่อสมเด็จพระมหาอุปราชาแม่ทัพหลวงทรงทราบความก็เกิดคร้ามเกรง จึงให้เลิกทัพกลับไปกรุงหงสาวดี และพระแสงปืนที่ใช้ยิงสุรกรรมาตายบนคอช้างนี้ ได้นามปรากฏต่อมาว่า “พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง”



พระแสงดาบคาบค่าย

สำหรับเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องศาสตราวุธชิ้นนี้ เกิดขึ้นใน ปี พ.ศ. 2129 โดยในปีดังกล่าว พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงได้ประชุมกองทัพจำนวน 250,000 คน ยกทัพมาตีกรุงศรีอโยธยาเพื่อแก้มือที่ทัพของพญาพสิมและทัพของพระเจ้าเชียงใหม่เคยพ่ายแพ้ไปเมื่อครั้งก่อน ๆ

ในเวลาที่ทัพหงสาวดียกมาตีพระนครนั้น เป็นช่วงที่ข้าวในนายังเกี่ยวไม่เสร็จ สมเด็จพระนเรศวรจึงรับสั่งให้เจ้าพระยากำแพงเพชรยกทัพออกไปป้องกันชาวนาที่กำลังเกี่ยวข้าวยังทุ่งชายเคือง ครั้นกองทัพหน้าของหงสาวดีที่พระมหาอุปราชคุมพลยกมาถึง ก็ให้ทัพม้าเข้าตีค่ายเจ้าพระยากำแพงเพชรแตกพ่ายหนีเข้าเมือง สมเด็จพระนเรศวรทรงพิโรธอย่างมาก เพราะอโยธยาไม่เคยแตกพ่ายแพ้ต่อข้าศึกเช่นนี้มาก่อน ดังนั้นพระองค์และสมเด็จพระเอกาทศรถจึงเสด็จยกพลไปตีทัพพระมหาอุปราชาเพื่อชิงค่ายกลับคืน ซึ่งผลปรากฏว่าทรงยึดค่ายคืนมาได้ จากนั้นสมเด็จพระนเรศวรได้ทรงรับสั่งประหารชีวิตเจ้าพระยากำแพงเพชร ทว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชา พระบิดาของพระองค์ได้ทรงขอชีวิตเจ้าพระยากำแพงเพชรเอาไว้

ในศึกหงสาวดีครั้งนี้ ทัพพม่าหมายมั่นจะตีกรุงศรีอโยุธยาให้ได้ และได้ตั้งค่ายล้อมพระนครเป็นหลายแห่ง ทว่าฝ่ายอโยธยานอกจากจะตั้งมั่นรักษาพระนครไว้ได้อย่างเข้มแข็งแข็งแล้ว สมเด็จพระนเรศวรยังเสด็จออกปล้นค่ายพม่าเป็นหลายครั้ง และมีครั้งหนึ่งที่ทรงตีค่ายหน้าของข้าศึกแตกพ่ายถอยหนี พระนเรศวรจึงรุกไล่ตีมาจนถึงค่ายหลวงของพระเจ้าหงสาวดี โดยทรงเสด็จลงจากม้าแล้วคาบพระแสงดาบนำทหารปีนบันไดขึ้นกำแพงข้าศึก แต่ได้ถูกพม่าใช้หอกแทงตกลงมาจนได้รับบาดเจ็บ จึงทรงเสด็จกลับพระนคร และจากเหตุการณ์ในครั้งนี้เอง พระแสงดาบนั้นจึงมีนามว่า “พระแสงดาบคาบค่าย”

ซึ่งจากความกล้าหาญของพระองค์ในครั้งนี้ ทำให้พระเจ้าหงสาวดีรับสั่งว่า หากพระนเรศวรออกมาอีกจะต้องจับพระองค์ให้จงได้ ถึงแม้ว่าจะใช้ทหารมากมายสักเพียงใดเท่าตามา จากนั้นจึงทรงวางแผนให้ ทหารเอก นามว่า ลักไวทำมู นำทหารฝีมือดีจำนวน 10,000 ไปดักซุ่มรอไว้ ครั้นเมื่อพระนเรศวรทรงออกมาปล้นค่ายหลวงอีก ลักไวทำมูจึงส่งกำลังส่วนน้อยเข้าล่อให้พระองค์นำกองหน้าไล่ตี เข้ามาจนถึงบริเวณที่ลักไวทำมูซุ่มทัพใหญ่รออยู่ จากนั้นจึงนำไพร่พลเข้ามาล้อมจับพระองค์ ทว่าสมเด็จพระนเรศวรได้ทรงใช้พระแสงทวนแทงลักไวทำมูตาย จากนั้นได้ทรงต่อสู้กับข้าศึกที่รุมล้อมอยู่ เป็นเวลานานร่วมชั่วโมง จนทัพหลวงของอโยธยาตามมาทันจึงเสด็จกลับพระนครได้ ต่อมาหลังจากล้อมพระนครอโยธยาเป็นเลาหลายเดือนกองทัพหงสาวดีก็บอบช้ำจากการสู้รบทั้งเสบียงเริ่มขาดแคลนจนสุดท้ายต้องถอยทัพกลับไป


พระแสงของ้าว เจ้าพระยาแสนพลพ่าย

หลังจากสมเด็จพระนเรศวรขึ้นครองราชย์ได้ไม่ถึงปี ครั้นถึง ปี พ.ศ. 2135 พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง โปรดให้พระมหาอุปราชา นำกองทัพทหารสองแสนสี่หมื่นคน ยกมาตีกรุงศรีอโยธยาอีกครั้งเพื่อแก้มือที่พ่ายศึกไปเมื่อครั้งก่อน ฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรนั้น เมื่อทรงทราบข่าวศึกแล้ว จึงทรงเตรียมไพร่พล มีกำลังหนึ่งแสนคนเดินทางออกจากบ้านป่าโมกไปสุพรรณบุรี ข้ามน้ำตรงท่าท้าวอู่ทองและตั้งค่ายหลวงที่บริเวณหนองสาหร่าย

เช้าของวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง พ.ศ. 2135 สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถทรงเครื่องพิชัยยุทธ โดยสมเด็จพระนเรศวรทรงช้าง นามว่า เจ้าพระยาไชยานุภาพ ส่วนพระสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงช้างนามว่า เจ้าพระยาปราบไตรจักร  ในวันนั้นทัพหงสาและอโยธยาเข้าปะทะกันจนเกิดโกลาหล  ในระหว่างการรบ ช้างทรงทั้งสองที่กำลังตกน้ำมันได้วิ่งเตลิดจนเข้าไปกลางทัพหงสาวดี โดยมีเพียงทหารรักษาพระองค์และจาตุรงคบาท (ผู้รักษาเท้าช้างทั้งสี่) เท่านั้นที่ติดตามไปทัน

สมเด็จพระนเรศวรได้ทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชาทรงพระคชสารอยู่ในร่มไม้กับเหล่าแม่ทัพหงสาวดี จึงทราบว่าช้างทรงของพระองค์ได้ถลำเข้ามาจนตกอยู่ในวงล้อมข้าศึกแล้ว แต่ด้วยพระปฏิภาณไหวพริบของพระนเรศวร จึงทรงไสช้างเข้าไปใกล้ แล้วตรัสถามพระมหาอุปราชาด้วยคุ้นเคยมาก่อนแต่วัยเยาว์ว่า “เจ้าพี่เราจะยืนอยู่ใยในร่มไม้เล่า เชิญออกมาทำยุทธหัตถีด้วยกัน ให้เป็นเกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิด ภายหน้าไปไม่มีพระเจ้าแผ่นดินที่จะได้ยุทธหัตถีแล้ว”

เมื่อพระมหาอุปราชาทรงได้ยินดังนั้น จึงไสช้างนามว่า พลายพัทธกอเข้าชนเจ้าพระยาไชยานุภาพจนเสียหลัก พระมหาอุปราชาทรงฟันสมเด็จพระนเรศวรด้วยพระแสงของ้าว แต่สมเด็จพระนเรศวรทรงเบี่ยงหลบทัน จึงฟันถูกพระมาลาหนังขาด โดยพระมาลานั้นได้ชื่อในเวลาต่อมา พระมาลาเบี่ยง

จากนั้นเจ้าพระยาไชยานุภาพได้รวมกำลังดันพลายพัทธกอจนเสียหลักล่าถอยและได้งัดพลายพัทธกอจนสองขาหน้ายกขึ้น สมเด็จพระนเรศวรก็ทรงฟันด้วยพระแสงของ้าวถูกพระมหาอุปราชาเข้าที่อังสะขวาขาด สิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง ส่วนสมเด็จพระเอกาทศรถก็ทรงฟันเจ้าเมืองจาปะโร พระพี่เลี้ยงของพระมหาอุปราชาตายคาคอช้างเช่นกัน

ฝ่ายเหล่าทหารหงสาวดีเห็นดังนั้น จึงใช้ปืนระดมยิงใส่ ทำให้นายมหานุภาพ ควาญช้างสมเด็จพระนเรศวรและหมื่นภักดีศวร กลางช้างสมเด็จพระเอกาทศรถต้องกระสุนสิ้นชีวิต ส่วนสมเด็จพระนเรศวรและพระเอากาทศรถนั้นทรงแคล้วคลาดปลอดภัย จนกระทั่งทัพหลวงฝ่ายอโยธยาตามมาช่วยทันและไล่ฆ่าฟันทัพหงสาวดีจนแตกพ่ายยับเยิน จากนั้นจึงรับทั้งสองพระองค์กลับพระนคร ส่วนหงสาวดีก็ถอยทัพกลับไป โดยนับแต่นั้นมาก็ไม่มีกองทัพใดกล้ายกมากล้ำกรายกรุงศรีอยุธยาอีกเป็นระยะเวลาอีกยาวนาน

และพระแสงของ้าวที่ สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้ทำยุทธหัตถีในครั้งนี้ ก็ได้รับชื่อในเวลาต่อมาว่า “พระแสงของ้าว เจ้าพระยาแสนพลพ่าย” ส่วน เจ้าพระยาไชยานุภาพ ช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรนั้นได้เลื่อนยศเป็น เจ้าพระยาปราบหงสา



ที่มา  :  http://www.komkid.com

การเสียดินแดนในยุคเศรษฐกิจเสรี

การเสียดินแดนในยุคเศรษฐกิจเสรี

วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม 2555 เวลา 00:00 น.
กลางเดือนมีนาคม 2555 ที่ผ่านมา มีการจัดสัมมนาที่สำคัญเรื่องหนึ่ง คือเรื่องนิติกรรม อำพราง : ต่างชาติกับการถือครองที่ดิน จัดโดยคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรมของวุฒิสภา หัวข้อการสัมมนาดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องตัวแทน อำพรางที่ รศ.ปิยะนุช โปตะวณิช ซึ่งปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เป็นหัวหน้าคณะวิจัยและได้ทำการศึกษาเพื่อนำเสนอต่อสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
ในขณะที่ยังเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งศึกษาถึงกรณีที่คนต่างด้าวอาศัยช่องว่างของกฎหมายทำธุรกรรมในลักษณะต่าง ๆ โดยให้ผู้มีสัญชาติไทยเป็นตัวแทนในลักษณะอำพราง  ซึ่งการสัมมนาครั้งนี้ได้เน้นถึงกรณีการเข้ามาถือครองที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อื่นของคนต่างชาติ  โดยใช้วิธีการต่าง ๆ ในการหลีกเลี่ยงกฎหมายที่จำกัดการถือครองที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ของคนต่างด้าว

ข่าวคราวหรือข้อมูลที่เกี่ยวกับการพยายามหลีกในประเทศไทย ได้ถูกนำเสนอผ่านสื่อมวลชนอยู่บ่อยครั้ง ๆ หน่เลี่ยงกฎหมายของคนต่างด้าว เพื่อเข้ามาถือครองที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์วยงานรัฐ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนี้ไม่ว่าจะเป็นกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ตลอดจนกรมสอบสวนคดีพิเศษ ต่างก็ออกมาแสดงความมุ่งมั่นที่จะป้องกันปัญหาดังกล่าวในส่วนงานที่ตนเองมีอำนาจหน้าที่

สิ่งที่น่าตกใจก็คือ ข้อมูลจากการวิจัยที่ถูกเปิดเผยในการสัมมนาพบว่า ขณะนี้เนื้อที่ดินประมาณ 100 ล้านไร่ หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ของประเทศไทย ได้ถูกถือครองโดยคนต่างด้าว ผ่านการทำนิติกรรมและตัวแทนอำพรางที่เป็นคนไทย จำนวนเนื้อที่ดินที่ถูกถือครองโดยคนต่างด้าวดังกล่าว ต้องถือว่าเป็นเนื้อที่ดินที่มีจำนวนมากเกือบครึ่งประเทศ

นอกจากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเนื้อที่ดินแล้ว ยังพบว่าในจำนวนที่ดินที่ถูกถือครองโดย คนต่างด้าวทั้งหมดกว่า 90% เป็นที่ดินแถบชายทะเล เช่น หาดบ้านแพ จังหวัดระยอง อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และหาดพัทยา จังหวัดชลบุรี ซึ่งในจำนวนนี้ยังรวมถึงที่ดินแถบชายทะเลในจังหวัดภูเก็ต และเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานีอีกด้วย

ท่านอาจารย์ศรีราชา เจริญพานิช ผู้ตรวจการแผ่นดิน  ซึ่งได้มอบหมายและผลักดันให้เกิดงานวิจัยนี้ได้กล่าวว่า ปัญหานี้มีมานานแล้ว เนื่องจากภาครัฐต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะหลังวิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ได้มีการแก้ไขกฎเกณฑ์ด้วยการเปิดช่องให้ชาวต่างชาติที่มีเงินเพียง  1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย สามารถเข้าถือครองที่ดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยได้ไม่เกิน 1 ไร่ ได้เป็นกรณีพิเศษ ถือเป็นการแย่งดินแดนโดยใช้ระบบเศรษฐกิจและช่องโหว่ของกฎหมาย  แต่ในความเป็นจริงชาวต่างชาติใช้ช่องทางนี้น้อยมาก  เพราะต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก และต้องทำเรื่องขออนุญาตรัฐมนตรีเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและใช้เวลานาน

รูปแบบที่ชาวต่างชาติเข้ามาถือครองที่ดินผ่านตัวแทนอำพรางที่ปรากฏอยู่ทั่วไป เช่น การเข้ามาสมรสกับคนไทย หรือการให้คนไทยเป็นผู้ซื้อที่ดิน แต่มีการทำสัญญากู้ยืม จำนอง หรือเช่าไว้กับคนต่างด้าวเพื่อเป็นหลักประกันในที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์เป็นผู้ออกเงินซื้อ แต่รูปแบบที่ถือว่ามีความซับซ้อนและตรวจสอบได้ยาก หากหน่วยงานรัฐหรือเจ้าหน้าที่พิจารณาเฉพาะรูปแบบการถือหุ้นเพียงผิวเผินก็คือรูปแบบการตั้งนิติบุคคลหรือบริษัทเป็นสัญชาติไทยในช่วงแรก แล้วไปทำการแปลงสภาพในภายหลัง ซึ่งในเรื่องการจัดตั้งนิติบุคคล แม้จะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว กำหนดให้คนต่างด้าวถือหุ้นในนิติบุคคลไทยได้ไม่เกิน 49% ก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติจะพบว่า หุ้นในนิติบุคคลที่เหลืออีก 51% ถูกถือครองโดยตัวแทนอำพราง (nominee) ทำให้กรณีที่หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เข้ามาทำการตรวจสอบการถือหุ้นที่แจ้งไว้อย่างผิวเผิน ก็จะยังพบว่านิติบุคคลนั้นยังมีสถานะเป็นนิติบุคคลสัญชาติไทย ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว อำนาจในการบริหารจัดการตลอดจนการรับผลที่คนต่างด้าวประโยชน์จากการประกอบธุรกิจ จะตกอยู่กับคนต่างด้าวที่เป็นเจ้าของเงินทุนจดทะเบียน ซึ่งการถือครองที่ดินโดยนิติบุคคล จะเริ่มทำการถือครองในขณะที่ยังมีสภาพเป็นนิติบุคคลไทยตามกฎหมาย แต่ต่อมาภายหลังเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการถือหุ้น หรือทำการเพิ่มทุนไปจนทำให้มีสถานะใหม่เป็นนิติบุคคลต่างด้าว แต่ก็ไม่ได้มีการรายงานให้กรมที่ดินทราบ เพื่อทำการสั่งจำหน่ายการถือครองที่ดินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในภายหลัง

จากสภาพของปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้เห็นว่าประเทศไทยไม่ได้ขาดแคลนกฎหมายที่จะนำมาบังคับใช้เพื่อป้องกันปัญหา แต่สิ่งที่ทุกฝ่ายน่าจะเห็นตรงกันก็คือ การขาดการประสานงานที่มีประสิทธิภาพระหว่างหน่วยงานที่เป็นผู้บังคับใช้กฎหมายดังที่ยกมาข้างต้นในการร่วมกันตรวจสอบการทำนิติกรรมหรือสถานะของนิติบุคคลที่ถือครองที่ดินว่าจะมีลักษณะเป็นการทำนิติกรรม หรือจัดตั้งนิติบุคคลเพื่ออำพรางหรือหลีกเลี่ยงกฎหมายหรือไม่

นอกจากนี้ในการพิจารณาข้อเท็จจริง โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการถือหุ้นในนิติบุคคลที่ดูผิวเผินเหมือนจะเป็นนิติบุคคลสัญชาติไทยนั้น หน่วยงานและเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องก็ควรจะต้องพิจารณาอย่างลงลึกไปถึงสัดส่วนการถือหุ้นในลำดับชั้นต่าง ๆ อย่างละเอียด เพื่อให้เห็นว่ามีการถือหุ้นอันเป็นการหลีกเลี่ยงกฎหมายหรือไม่ด้วย

สภาพของปัญหาที่ถูกหยิบยกมานำเสนอในการสัมมนาดังกล่าวถือว่าอยู่ในขั้นที่น่าเป็นห่วง หากหน่วยงานรัฐตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไม่สามารถทำการประสานงานในการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพกว่าที่เป็นอยู่ เชื่อแน่ว่าระดับความรุนแรงของปัญหานี้จะมีมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จำนวนเนื้อที่ดินที่จะถูกถือครองโดยคนต่างด้าวอาจจะมีจำนวนมากขึ้นจนเกินกว่าครึ่งประเทศ  ประกอบกับการเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่จะมาถึงในอีกไม่กี่ปีจากนี้ อาจเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะทำให้ปัญหาการทำนิติกรรมหรือตัวแทนอำพรางของต่างชาติที่จะเข้ามาถือครองที่ดินในประเทศไทยทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

ปัญหาเรื่องการถือครองที่ดินโดยคนต่างชาติ เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งในหลาย ๆ กิจการในปัจจุบันที่ผู้ประกอบธุรกิจที่มีชาวต่างชาติควบคุมพยายามใช้ความไม่สุจริตหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายไทยกำหนดในการดำเนินการทำธุรกิจแบบมีเงื่อนงำ ปกปิดข้อเท็จจริง หากไม่มีใครคิดจะป้องกันปัญหานี้อย่างจริงจัง สักวันหนึ่งเราอาจได้เห็นภาพคนไทยเข้าคิวซื้อบัตรเพื่อเข้าไปเดินเล่นหรือพักผ่อนริมชายทะเลในช่วงวันหยุดพักผ่อนก็เป็นได้.